Majimuri Gakuen (マジムリ学園) กับบทสรุปจากเค้าโครงประวัติศาสตร์จริง
หลังจากที่มีการปรากฎตัวชองชื่อละครในเรื่อง Majimuri Gakuen (マジムリ学園) ซึ่งเป็นซีรี่ส์ลำดับที่ 7 ของ Majisuka Gakuen (マジすか学園) ของ Akimoto Yasushi (秋元康) โดยผู้รับผิดชอบในบทของภาคนี้ คือ Maruo Maruichirō (丸尾丸一郎) ก็ทำให้ผู้เขียนเกิดคำถามหนึ่งขึ้นมา "ทำไมถึงรู้สึกว่ามันคล้ายกับประวัติศาสตร์ที่เคยอ่านมาตอนหนึ่งพอดี" เมื่อทำการค้นหาแล้ว พบว่าก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ และวันนี้ 48ศึกษาจะมาอธิบายบทสรุปที่เป็นจุดจบของละครโดยใช้ประวัติศาสตร์ล้วน ๆ
สำหรับเนื้อหาที่เกิดขึ้นนี้ ผู้เขียนจะเขียนต่อจาก "Majimuri Gakuen (マジムリ学園) กับเค้าโครงประวัติศาสตร์จริง" ซึ่งได้เขียนก่อนที่ละครจะออกฉายตอนแรก โดยเป็นการอธิบายสาเหตุของตอนจบของละครที่ผู้อ่านหลายคนไม่ค่อยชื่นชอบเท่าไร แบบไม่ตอบโดยตรงว่าเป็นอย่างไร (เผื่อคนที่ไม่ได้ดูละครจะได้ไปลุ้น แต่ประวัติศาสตร์กลับไม่ทำให้ลุ้นเท่าไร เพราะรู้โครงเรื่องหมดแล้ว..) โดยเข้าไปดูตอนก่อนหน้าได้ที่นี่..
https://48studies.blogspot.com/2018/06/majimuri-gakuen-history-link.html
คำเตือน: SPOILER ALERT By History! สำหรับใครที่กลัวว่าการรู้ประวัติศาตร์แล้วจะรู้ชะตากรรมตอนจบของละคร!
(ผู้เขียนเตือนด้วยความหวังดีแล้วนะ อย่างไรก็ตาม ถ้าใครดูละครแล้วยังไม่รู้ประวัติศาสตร์ นี่คือเหตุผลของตอนจบละคร!)
ในประวัติศาสตร์จริง Rosa Luxemburg ผู้นำการปฏิวัติใน Novemberrevolution ถูกสังหารโดยกองกำลังฝ่ายรัฐบาลในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1919 ซึ่งทำให้การปฏิวัติต้องยุติลงโดยปริยาย แต่การปฏิวัติครั้งนี้ทำให้ Rosa Luxemburg ถูกยกย่องในฐานะผู้เสียสละในช่วงรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก (Deutsche Demokratische Republik, DDR) และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายอย่าง The Left (Die Linke) ซึ่งมีมูลนิธิทางการเมืองที่ตั้งตามชื่อของเธอ (Rosa-Luxemburg-Stiftung)
* Tips: ในไทย มูลนิธิทางการเมืองของเยอรมนี (จัดขึ้นเพื่อทำสาธารณประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม) มีอยู่ 5 มูลนิธิซึ่งสังกัดพรรคหลัก ๆ ในเยอรมนียกเว้น Rosa-Luxemburg-Stiftung ที่ไม่มีในไทย
ในเนื้อหาส่วนนี้ จะทำให้ใครหลายคนที่ไม่เคยดูละคร นึกออกแล้วว่าจุดจบของละครจะเป็นอย่างไร และการรู้เนื้อหาประวัติศาสตร์ส่วนนี้เองที่ทำให้คาดการณ์ตั้งแต่แรกได้ว่าจะจบอย่างไร เพียงแต่วิธีการในการดึงสู่ตอนจบของละครนั้นอาจจะไม่ได้เหมือนกับประวัติศาสตร์จริง
ในทางกลับกัน หาก Rosa Luxemburg สามารถก่อ Novemberrevolution ได้สำเร็จ ประวัติศาสตร์โลกจะเปลี่ยนไปทั้งหมดทันที เพราะจุดนี้จะทำให้สิ่งที่เรียกว่า "Red Terror" หรือความหวาดกลัวในคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก
เมื่อประเทศหลักอย่างรัสเซียกลายเป็นคอมมิวนิสต์ (โดยบอลเชวิก) และเยอรมนีกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศข้างเคียงจะเกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในแบบฉบับของตนเองตามประเทศต่าง ๆ เพื่อโค่นล้มอำนาจเก่าและสถาปนารัฐที่เป็นเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งจุดนั้นชาติที่เป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้วจะสนับสนุนการปฏิวัติดังกล่าว จนสามารถพลิกโลกทั้งใบให้แดงฉานได้ในที่สุด
สาเหตุหนึ่งที่ชาติสัมพันธมิตรจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงรวมตัวกันสนับสนุนขบวนการฝ่ายขาวในรัสเซีย (Белое движение) เพราะต้องการหยุดยั้งบอลเชวิกไม่ให้ชนะสงครามและขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ออกไปในประเทศข้างเคียงในอนาคต..
อีกทางหนึ่ง ผู้เขียนมองว่า ความพยายามของโซเวียตรัสเซียที่จะตีโปแลนด์ให้แตกเพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปประสบความล้มเหลวในประวัติศาสตร์จริง เนื่องจากความอ่อนล้าจากสงครามกลางเมืองของโซเวียตรัสเซีย และความแข็งแกร่งของโปแลนด์ที่ชาติต่าง ๆ ให้การสนับสนุน จึงทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังไม่กระจายตัวออกไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
แต่ในโลกที่ Rosa Luxemburg ปฏิวัติเยอรมนีสำเร็จ โปแลนด์จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา เพราะถูกขนาบข้างโดยชาติคอมมิวนิสต์สองชาติ ในตอนนั้น ยุโรปเกือบทั้งหมดจะได้รับผลของสงครามกลางเมืองที่คอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติ เมื่อถึงจุดที่ยุโรปเป็นคอมมิวนิสต์ โลกทั้งใบก็เป็นคอมมิวนิสต์
สำหรับประวัติศาสตร์จริง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใน Novemberrevolution ต่างพบกับศัตรูจำนวนมากมายทั้งภายในและภายนอก เนื่องจากการคาดการณ์ของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความหวาดกลัว หรือ Red terror ขึ้นมา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ตัวละครมีหลายกลุ่มที่กันมาเล่นงานตัวเอก
นอกจากนี้ ความพ่ายแพ้ของคอมมิวนิสต์เยอรมนีใน Novemberrevolution ทำให้ตัวแปรใหม่เกิดขึ้นมา นั่นคือการเข้ามาของ NSDAP ของ Adolf Hitler
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919 Adolf Hitler ได้งานเป็นสายลับของกองทัพเพื่อสืบข้อมูลและแทรกซึมความเคลื่อนไหวของพรรคแรงงานเยอรมนี (Deutsche Arbeiterpartei, DAP) ที่นั่นเขาพบว่า ถึงจะมีคำว่ากรรมกรอยู่ในชื่อพรรคแต่กลับไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และที่นั่นคือพรรคของลัทธิชาตินิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ตรงกับเขาจนนำไปสู่เส้นทางการเมืองของเขาในนามของ NSDAP ในเวลาต่อมา
สำหรับทัศนคติของ Adolf Hitler ต่อจักรพรรดิ Wilhelm II นั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Adolf Hitler คือทหารธรรมดาคนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ธงของจักรวรรดิเยอรมนี (โดยที่ไม่เคยได้พบกับพระองค์แม้แต่ครั้งเดียวตลอดชีวิตของเขา) แต่ในช่วงหลังสงคราม Adolf Hitler มองอดีตจักรพรรดิว่าเป็นต้นตอของความพ่ายแพ้ของเยอรมนี และช่วงที่ NSDAP มีอำนาจในปี ค.ศ. 1933 จะเห็นได้ว่า Adolf Hitler รวบอำนาจเบ็ดเสร็จที่ตัวเขาเองทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาอดีตจักรพรรดิ (ซึ่งประทับลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) อีกต่อไป
ส่วนทัศนคติของจักรพรรดิ Wilhelm II ต่อ Adolf Hitler นั้น ช่วงเริ่มแรกที่ NSDAP ก้าวสู่อำนาจ พระองค์ทรงพยายามในการเจรจากับ NSDAP เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ในเยอรมนี แต่ตัว Adolf Hitler ซึ่งเป็นทหารแนวหน้ามาก่อน (เข้าใจว่าตัวการที่ทำให้แพ้สงครามไม่ใช่ทหารแต่เป็นพระองค์ต่างหากที่ไม่แน่วพระทัยในสงคราม ทำให้เยอรมนีแพ้สงครามอย่างที่ไม่ควรจะเป็น) ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น และหันไปให้ความร่วมมือกับประธานาธิบดี Paul von Hindenburg อดีตจอมพลในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีอายุ 85 ปีในช่วงต้นปี ค.ศ. 1933 ทำให้พระองค์ทรงมีทัศนคติต่อทั้งคนในแง่ลบ เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจในเยอรมนี
ในเวลานั้น พระองค์ก็ไม่ถึงกับเกลียด Adolf Hitler เนื่องจากนโยบายของ Adolf Hitler ต่อเยอรมนีในช่วงที่ NSDAP ปกครองประเทศเต็มตัว (หลังการถึงแก่อสัญกรรมของ Hindenburg ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934) ล้วนเป็นการฟื้นฟูเยอรมนีไม่ว่าจะเป็นการฉีกสัญญาแวร์ซายส์ การฟื้นฟูกองกำลังเยอรมนี และการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 (โดยเฉพาะชัยชนะเหนือฝรั่งเศสที่พระองค์ทรงมองว่านี่คือการล้างแค้นให้พระองค์) แต่แน่นอนว่า ชัยชนะในยุโรปของเยอรมนี ทำให้พระองค์อยากเสด็จนิวัติกลับเยอรมนี แต่ก็ถูกปฏิเสธโดย NSDAP มาโดยตลอด
วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จักรพรรดิ Wilhelm II เสด็จสวรรคตขณะลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์ภายใต้การปกครองของเยอรมนี (Reichskommissariat Niederlande) ทั้ง ๆ ที่เยอรมนียึดครองได้ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และพระองค์ก็ทรงแน่พระทัยในการประทับต่อที่ Huis Doorn (แม้ว่าจะถูกเชิญโดยฝ่ายสัมพันธมิตรผู้เป็นศัตรูเก่า แต่เลือดเยอรมนีของพระองค์ข้นมากและเลือกที่อยู่กับ NSDAP แม้จะไม่ชอบพระทัยก็ตาม)
Adolf Hitler หวังว่าจะได้จัดพิธีศพให้กับอดีตจักรพรรดิ Wilhelm II ผู้ปกครองคนสุดท้ายของจักรวรรดิเยอรมนี (แม้ในใจจะไม่ชอบตรงที่ถูกมองว่าเป็นต้นตอของความพ่ายแพ้ของเยอรมนีก็ตาม) แต่ในพระราชพินัยกรรมก็ได้ระบุชัดเจนแล้วว่า "ในเมื่อกลับไปแบบเป็นไม่ได้ ตอนตายก็ไม่ต้องพากลับมาจนกว่าราชวงศ์จะถูกฟื้นฟูในเยอรมนี" พระบรมศพของพระองค์จึงถูกฝังอยู่ที่ Huis Doorn ในเนเธอร์แลนด์ตามพระราชประสงค์
※ แหล่งอ้างอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์:
http://lostinthemythsofhistory.blogspot.com/2011/08/kaiser-wilhelms-true-opinion-of-hitler.html
http://madmonarchist.blogspot.com/2015/06/the-kaiser-and-fuhrer.html
ในละครก็เช่นกัน 卍 กับ Kaiser เคยเป็นมิตรกันด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่ในใจลึก ๆ แล้วทั้งสองมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน และสิ่งนี้เองที่ทำให้จุดจบของละครเป็นประการนั้น
โปสเตอร์ของละครเรื่อง Majimuri Gakuen (マジムリ学園) |
https://48studies.blogspot.com/2018/06/majimuri-gakuen-history-link.html
คำเตือน: SPOILER ALERT By History! สำหรับใครที่กลัวว่าการรู้ประวัติศาตร์แล้วจะรู้ชะตากรรมตอนจบของละคร!
(ผู้เขียนเตือนด้วยความหวังดีแล้วนะ อย่างไรก็ตาม ถ้าใครดูละครแล้วยังไม่รู้ประวัติศาสตร์ นี่คือเหตุผลของตอนจบละคร!)
จุดจบไม่สวยงามเพราะประวัติศาสตร์ไม่ได้สวยงาม
ผู้อ่านจำนวนมากหวังว่าจุดจบของละครจะได้เห็นการที่ Lily สามารถปฏิวัติโรงเรียนได้สำเร็จ สถาปนาโรงเรียนที่เป็นของทุกคน อำนาจเก่าและอำนาจจากต่างถิ่นสลายลง แต่ไหนทำไมจุดจบถึงเป็นเช่นนั้น..เหล่านักปฏิวัติแห่งเยอรมนีในช่วง Novemberrevolution (http://links.org.au/node/4556) |
* Tips: ในไทย มูลนิธิทางการเมืองของเยอรมนี (จัดขึ้นเพื่อทำสาธารณประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม) มีอยู่ 5 มูลนิธิซึ่งสังกัดพรรคหลัก ๆ ในเยอรมนียกเว้น Rosa-Luxemburg-Stiftung ที่ไม่มีในไทย
ตราสัญลักษณ์ของ Rosa-Luxemburg-Stiftung |
ในทางกลับกัน หาก Rosa Luxemburg สามารถก่อ Novemberrevolution ได้สำเร็จ ประวัติศาสตร์โลกจะเปลี่ยนไปทั้งหมดทันที เพราะจุดนี้จะทำให้สิ่งที่เรียกว่า "Red Terror" หรือความหวาดกลัวในคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก
เมื่อประเทศหลักอย่างรัสเซียกลายเป็นคอมมิวนิสต์ (โดยบอลเชวิก) และเยอรมนีกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ประเทศข้างเคียงจะเกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในแบบฉบับของตนเองตามประเทศต่าง ๆ เพื่อโค่นล้มอำนาจเก่าและสถาปนารัฐที่เป็นเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งจุดนั้นชาติที่เป็นคอมมิวนิสต์ไปแล้วจะสนับสนุนการปฏิวัติดังกล่าว จนสามารถพลิกโลกทั้งใบให้แดงฉานได้ในที่สุด
โปสเตอร์ข้อความ "เข้าร่วม KPD!" (Kommunistische Partei Deutschlands) (https://prezi.com/hn-j28fpbr0y/1914/) |
อีกทางหนึ่ง ผู้เขียนมองว่า ความพยายามของโซเวียตรัสเซียที่จะตีโปแลนด์ให้แตกเพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปประสบความล้มเหลวในประวัติศาสตร์จริง เนื่องจากความอ่อนล้าจากสงครามกลางเมืองของโซเวียตรัสเซีย และความแข็งแกร่งของโปแลนด์ที่ชาติต่าง ๆ ให้การสนับสนุน จึงทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ยังไม่กระจายตัวออกไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
แต่ในโลกที่ Rosa Luxemburg ปฏิวัติเยอรมนีสำเร็จ โปแลนด์จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา เพราะถูกขนาบข้างโดยชาติคอมมิวนิสต์สองชาติ ในตอนนั้น ยุโรปเกือบทั้งหมดจะได้รับผลของสงครามกลางเมืองที่คอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติ เมื่อถึงจุดที่ยุโรปเป็นคอมมิวนิสต์ โลกทั้งใบก็เป็นคอมมิวนิสต์
สำหรับประวัติศาสตร์จริง ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใน Novemberrevolution ต่างพบกับศัตรูจำนวนมากมายทั้งภายในและภายนอก เนื่องจากการคาดการณ์ของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความหวาดกลัว หรือ Red terror ขึ้นมา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ตัวละครมีหลายกลุ่มที่กันมาเล่นงานตัวเอก
นอกจากนี้ ความพ่ายแพ้ของคอมมิวนิสต์เยอรมนีใน Novemberrevolution ทำให้ตัวแปรใหม่เกิดขึ้นมา นั่นคือการเข้ามาของ NSDAP ของ Adolf Hitler
卍 กับ Kaiser - เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
Adolf Hitler เคยเป็นทหารแนวหน้าของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้ว่าเขาจะเป็นชาวออสเตรีย-ฮังการีโดยกำเนิด แต่เขาไม่ผ่านการตรวจร่างกายโดยกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมกับกองทัพของจักรวรรดิเยอรมนี ในช่วง Novemberrevolution ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่เยอรมนีลงนามสงบศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 เขายังเป็นทหารอยู่เพื่อทำงานหลัก ๆ ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ก่อนที่จะถูกปลดออกจากกองทัพด้วยสนธิสัญญาแวร์ซายส์Adolf Hitler ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (http://www.ddoughty.com/adolf-hitler.html) |
สำหรับทัศนคติของ Adolf Hitler ต่อจักรพรรดิ Wilhelm II นั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Adolf Hitler คือทหารธรรมดาคนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ธงของจักรวรรดิเยอรมนี (โดยที่ไม่เคยได้พบกับพระองค์แม้แต่ครั้งเดียวตลอดชีวิตของเขา) แต่ในช่วงหลังสงคราม Adolf Hitler มองอดีตจักรพรรดิว่าเป็นต้นตอของความพ่ายแพ้ของเยอรมนี และช่วงที่ NSDAP มีอำนาจในปี ค.ศ. 1933 จะเห็นได้ว่า Adolf Hitler รวบอำนาจเบ็ดเสร็จที่ตัวเขาเองทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาอดีตจักรพรรดิ (ซึ่งประทับลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) อีกต่อไป
จักรพรรดิ Wilhelm II กับ Adolf Hitler สองคนผู้ไม่เคยได้พบกันแต่มีความสัมพันธ์ที่หลากหลาย (http://madmonarchist.blogspot.com/2015/06/the-kaiser-and-fuhrer.html) |
ในเวลานั้น พระองค์ก็ไม่ถึงกับเกลียด Adolf Hitler เนื่องจากนโยบายของ Adolf Hitler ต่อเยอรมนีในช่วงที่ NSDAP ปกครองประเทศเต็มตัว (หลังการถึงแก่อสัญกรรมของ Hindenburg ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934) ล้วนเป็นการฟื้นฟูเยอรมนีไม่ว่าจะเป็นการฉีกสัญญาแวร์ซายส์ การฟื้นฟูกองกำลังเยอรมนี และการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 (โดยเฉพาะชัยชนะเหนือฝรั่งเศสที่พระองค์ทรงมองว่านี่คือการล้างแค้นให้พระองค์) แต่แน่นอนว่า ชัยชนะในยุโรปของเยอรมนี ทำให้พระองค์อยากเสด็จนิวัติกลับเยอรมนี แต่ก็ถูกปฏิเสธโดย NSDAP มาโดยตลอด
วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จักรพรรดิ Wilhelm II เสด็จสวรรคตขณะลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์ภายใต้การปกครองของเยอรมนี (Reichskommissariat Niederlande) ทั้ง ๆ ที่เยอรมนียึดครองได้ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และพระองค์ก็ทรงแน่พระทัยในการประทับต่อที่ Huis Doorn (แม้ว่าจะถูกเชิญโดยฝ่ายสัมพันธมิตรผู้เป็นศัตรูเก่า แต่เลือดเยอรมนีของพระองค์ข้นมากและเลือกที่อยู่กับ NSDAP แม้จะไม่ชอบพระทัยก็ตาม)
Huis Doorn - ที่ประทับของจักรพรรดิ Wilhelm II ขณะเสด็จลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์จนเสด็จสวรรคต (https://www.museumkaart.nl/museum/Huis+Doorn.aspx) |
※ แหล่งอ้างอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์:
http://lostinthemythsofhistory.blogspot.com/2011/08/kaiser-wilhelms-true-opinion-of-hitler.html
http://madmonarchist.blogspot.com/2015/06/the-kaiser-and-fuhrer.html
ในละครก็เช่นกัน 卍 กับ Kaiser เคยเป็นมิตรกันด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่ในใจลึก ๆ แล้วทั้งสองมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน และสิ่งนี้เองที่ทำให้จุดจบของละครเป็นประการนั้น
บทส่งท้าย
ในบทความสั้นนี้ ผู้เขียนอยากจะแสดงให้เห็นถึงสาเหตุของจุดจบในละคร Majimuri Gakuen ที่ออกมาเป็นเช่นนั้น และสิ่งที่เกิดขึ้นในละครแม้ว่าจะเป็น fiction คือเค้าโครงจากประวัติศาสตร์มีให้เห็นอย่างสังเกตได้
สุดท้ายนี้ จากบทความแรก ผู้เขียนจะกล่าวกับละครเรื่องนี้ว่า "Stories in drama can be predicted because history has told already but you don't believe them all" (เรื่องราวในละครสามารถทำนายได้เพราะประวัติศาสตร์บอกไว้หมดแล้วเพียงแต่คุณไม่ได้เชื่อมั่นทั้งหมดเท่านั้นเอง)
ปล. ตอนจบของละครนี้ ผู้เขียนพูดได้เต็มปากว่า "นั่นไง! ว่าแล้วเชียว!"
จบบทความ Majimuri Gakuen (マジムリ学園)
Comments
Post a Comment