NMB48 กับวงในยุค post-Yamamoto Sayaka

ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา NMB48 เข้มแข็งเป็นอย่างมากและเป็นวงน้องสาวของ AKB48 ที่มีเอกลักษณ์ที่วงพี่สาวยากจะเลียนแบบ ทั้งนี้ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นเพราะอภิมหาเดอะแบกของวงอย่าง Yamamoto Sayaka (山本彩) ที่นำวงเข้าสู่ความยิ่งใหญ่ได้
ซิงเกิ้ลจบการศึกษาของ Yamamoto Sayaka (山本彩) "Boku Datte naichau yo (僕だって泣いちゃうよ)"
(https://www.m-on-music.jp/0000298794/)
แต่วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา Yamamoto Sayakaประกาศจบการศึกษาจาก NMB48 อย่างไม่คาดคิด สร้างกระแสในวงการไอดอลเป็นอย่างมากที่เมมเบอร์หลักของวงจบการศึกษาออกไป ทำให้เกิดคำถามเป็นอย่างมากต่อวงหลังจากนี้ว่าใครจะเข้ามานำวง และอนาคตหลังจากนี้วงจะยังยืนอยู่ในจุดที่เคยยืนดั่งเช่นในอดีตได้หรือไม่ 48ศึกษาจะมาวิเคราะห์และอธิบาย..

การถ่ายโอนอำนาจวงหลัง Yamamoto Sayaka

ผู้เขียนจะขอข้ามเนื้อหาในส่วนของมูลเหตุของการประกาศจบการศึกษาจาก NMB48 ของ Yamamoto Sayaka ซึ่งสามารถอ่านบทความได้จากลิงค์นี้ โดยเป็นบทความที่เขียนหลังการเลือกตั้งและเขียนใน Yamamoto Sayaka ประกาศจบการศึกษาพอดี..
(https://48studies.blogspot.com/2018/08/anal5-nmb48-crisis.html)
ภาพวันที่ Yamamoto Sayaka ประกาศจบการศึกษาจาก NMB48
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ Yamamoto Sayaka ประกาศจบการศึกษาจาก NMB48 ออกไปแล้ว แน่นอนว่าตั้งสั่นคลอนทั้งแฟนคลับ NMB48 เอง และวงการบันเทิงที่คอยติดตามเธอไม่ว่าจะผ่าน AKB48 Group หรือบุคคลภายนอก เนื่องจากเธอมีอิทธิพลและบารมีเหนือวงชนิดที่สามารถเรียกได้อย่างเต็มปากว่า "เดอะแบก" ได้เลยทีเดียว

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียน คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ เนื่องด้วยการที่ไม่มีเสาหลักของวงไป  ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่อวงได้มากพอสมควร และหลังจากนี้ท่าทีของเมมเบอร์ในวงจะเป็นเช่นไร จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง

ในช่วงที่ Yamamoto Sayaka ขึ้นสเตจคอนเสิร์ตเพื่อฉลอง NMB48 ครบรอบ 8 ปีในวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าคนที่จะนำวงต่อไปนั้น คงเป็น Shiroma Miru (白間美瑠) เมมเบอร์ NMB48 รุ่นที่ 1 เหมือนกัน เนื่องจากนิตยสารหลายสำนักที่ขึ้นปกทั้งสองร่วมกันและท่าทีของ Yamamoto Sayaka ก็ชัดเจนถึงการพูดถึง Shiroma Miru ในแนวทางที่อยากให้นำวงต่อไป
(https://www.oricon.co.jp/news/2121681/full/
https://mdpr.jp/news/detail/1783611
https://www.nikkansports.com/entertainment/akb48/news/201810170000939.html
https://www.youtube.com/watch?v=cP6oJ0njeBo)
นิตยสาร BOMB! ฉบับ Love Special ที่ปกขึ้นรูป Yamamoto Sayaka และ Shiroma Miru


Yamamoto Sayaka และ Shiroma Miru ในสเตจคอนเสิร์ตฉลอง NMB48 ครบรอบ 8 ปีในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2018
(https://news.biglobe.ne.jp/entertainment/1018/ori_181018_6601185805.html)
แต่เดี๋ยวก่อน ผู้เขียนเคยเห็นอะไรแบบนี้ในประวัติศาสตร์ และคล้ายกันมากชนิดที่เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้นคือโมเดลของการถ่ายโอนอำนาจของวงในครั้งนี้เลย ผู้เขียนคิดว่าการถ่ายโอนอำนาจนั้นเบื้องลึกมีความคล้ายคลึงกับ "การถ่ายโอนอำนาจบริหารของคิวบา"

การถ่ายโอนอำนาจของคิวบา

เบื้องลึกจริง ๆ แล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า Yamamoto Sayaka ยึดเหตุผลเดียวกับการถ่ายโอนอำนาจในคิวบาเพื่อวางตำแหน่งทายาทของผู้นำให้โดยพฤตินัย ซึ่งผู้เขียนจะขออธิบายถึงเหตุการณ์การถ่ายโอนอำนาจในคิวบาก่อน

ระบอบคอมมิวนิสต์ในคิวบายืนยงภายใต้การนำของ Fidel Castro ตั้งแต่การปฏิวัติคิวบาในปี ค.ศ. 1959 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2006 ซึ่ง Fidel Castro มีอายุ 80 ปีแล้ว จึงเริ่มมองหาทายาทในการบริหารประเทศต่อจากตนด้วยปัญหาสุขภาพที่รุมเร้าจากอายุที่มากขึ้น
Fidel Castro ในปี ค.ศ. 2006
(https://www.telesurtv.net/english/news/Cuban-Venezuelans-Pay-Homage-to-Castro-on-Death-Anniversary-20171124-0002.html)
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 Raúl Castro ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์จากสภาพลังประชาชนแห่งชาติให้เป็นประธานาธิบดีของคิวบาต่อต่อจาก Fidel Castro ที่ตัดสินใจไม่ลงสมัครเป็นประธานาธฺบดีอีกสมัย (Asamblea Nacional del Poder Popular) ซึ่ง Raúl Castro ในขณะนั้นมีอายุ 76 ปี (ส่วน Fidel Castro มีอายุ 81 ปี)
Fidel Castro กับ Raúl Castro
(https://nypost.com/2016/11/26/how-fidel-castros-leadership-tore-apart-his-own-family/) 
แต่ปัญหาสุขภาพของ Fidel Castro ก็ยิ่งแย่ลงเมื่ออายุผ่านไป จนกระทั่งในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2011 Fidel Castro ลาออกจากพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาและพรรคเลือก Raúl Castro ขึ้นมาแทนพี่ชาย
(Castro, Fidel (2007). Ignacio Ramonet, ed. Fidel Castro: My Life. แปลโดย Andrew Hurley. Penguin Books.)

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 Fidel Castro ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบในคิวบา พร้อมกับการทิ้งท้ายตำนานการปฏิวัติคิวบาและการปกครองที่ยาวนานของเขาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำ
Fidel Castro ในงานวันเกิดปีที่ 90 เมื่อวันที่ 13สิงหาคม ค.ศ. 2016 และเป็นการปรากฏตัวครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่อสัญกรรม
(https://www.radiotelevisionmarti.com/a/cumpleano-fidel-castro-maduro-karl-marx-/127961.html)
มูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ Fidel Castro ผู้นำที่ปกครองมาอย่างยาวนาน เลือกที่สืบทอดอำนาจผ่านน้องชายของตนเองที่มีอายุใกล้เคียงกันแทนที่จะใช้คนรุ่นใหม่มาบริหารคิวบา ก็มี 2 สาเหตุหลักด้วยกัน

สาเหตุแรก ก็คือ บทเรียนจากสหภาพโซเวียต - ศาสตราจารย์ Vladimir Borodaev ได้อธิบายว่า Fidel Castro ได้บทเรียนจาก Perestroika (Перестройка) ในสหภาพโซเวียตที่ผู้นำในเวลานั้น คือ Mikhail Gorbachev (Михаил Горбачёв) ได้นำมาใช้ ก่อนที่จะจบลงด้วยการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลวในเดือนิงหาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
Fidel Castro กับ Mikhail Gorbachev
(https://www.irishtimes.com/news/world/europe/russia-hails-achievements-of-fidel-castro-amid-talk-of-revived-cuba-ties-1.2884213)
Fidel Castro รู้แล้วว่า การพึ่งพากลไกตลาดมากเกินไป ทำให้ระบอบสังคมนิยมล่มสลายได้ นั่นจึงทำให้เขาเริ่มหันมาวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาส่วนร่วมกับพรรคมากขึ้น ก่อนที่จะปล่อยให้ Raúl Castro ปฏิรูปพรรค ก่อนหน้านี้ Raúl Castro เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรี
(https://sputniknews.com/world/201611271047892336-castro-reform-revolution/
https://russian.rt.com/world/article/336017-kuba-posle-kastro-ocenki)

สาเหตุที่สอง คือการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศยุโรป - สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาในการปกครองของระบอบคอมมิวนิสต์ คือสุญญากาศทางการเมืองหลังจากผู้นำคนก่อนซึ่งปกครองเป็นเวลานานหมดอำนาจลงโดยไม่ได้มีการเตรียมส่งอำนาจ ทำให้ผู้นำคนใหม่ที่เข้ามารับช่วงต่อนั้น ไม่รู้สถานการณ์หรือแผนที่ผู้นำคนก่อนได้วางไว้ (ไม่ว่าจะเพราะขาดประสบการณ์ในการทำงาน หรือไม่มีบารมีมากพอในการชักจูงกลุ่มปกครองให้คล้อยตามในแนวทางของตนก็ตาม)

คิวบาเรียนรู้แล้วว่าผู้นำคนใหม่ที่เข้ามาทำงาน หากไม่ได้รับการเรียนรู้งานของพรรคก่อน จะส่งผลถึงขึ้นทำลายระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศได้เลย ดังนั้นเพื่อรักษาอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ไว้ จึงต้องใช้ผู้นำที่ไว้ใจได้และมีประสบการณ์มากพอ นั่นคือ Raúl Castro โดยทำการปฏิรูปพรรคไปอย่างช้า ๆ เพื่อค่อย ๆ ส่งต่ออำนาจไปยังคนรุ่นใหม่ในอนาคตทำให้หลายคนเชื่อว่าการปฏิรูปคิวบาจะเกิดขึ้นในรูปแบบเดียวกับจีนที่สามารถคงความเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับความสำเร็จทาเศรษฐกิจได้ ก่อนที่คนรุ่นใหม่จะมารับช่วงต่ออย่างราบรื่น

และแน่นอนว่า ด้วยปัญหาสุขภาพและอายุของ Raúl Castro ทำให้เขาตัดสอนใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะไม่ลงสมัครเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยภายหลังจากที่ได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 ทำให้ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2018 Raúl Castro ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี คงไว้ซึ่งตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา โดยมี Miguel Díaz-Canel ในวัย 58 ปีมาดำรงตำแหน่งต่อเป็นประธานาธิบดี 
Raúl Castro กับ Miguel Díaz-Canel
(http://theconversation.com/cubas-getting-a-new-president-94060)
เท่ากับว่าการถ่ายโอนอำนาจในคิวบาตั้งแต่ Fidel Castro ลงจากตำแหน่งไปแล้ว ประสบความสำเร็จไปส่วนหนึ่ง เพียงแต่ยังรอให้ทุกอย่างลงตัวและเป็นไปตามแผนเท่านั้น เพื่อให้คิวบายังคงเสถียรภาพที่ดีต่อไป

การถ่ายโอนอำนาจใน NMB48

กลับมาที่ NMB48 ผู้เขียนมองการเลือกทายาทของเดอะแบกของวงที่จะมานำทางให้กับวงในอนาคตต่อจาก Yamamoto Sayaka ไว้ในรูปแบบเดียวกับการส่งไม้ต่อการปกครองประเทษในคิวบา เนื่องจาก Yamamoto Sayaka และ Shiroma Miru ต่างก็เป็นเมมเบอร์รุ่นที่ 1 ที่ฟันฝ่าความยากลำบากของวงในการสร้างชื่อและสร้างฐานอำนาจของวงมาด้วยกัน

การประกาศจบการศึกษาของ Yamamoto Sayaka ทำให้เกิดคำถามถึงทายาทที่มานำวงต่อไป และหลายคนก็คาดการณ์ว่าเธออาจจะมอบหมายให้ Shiroma Miru เป็นผู้นำวงต่อจากเธอ โดยผู้เขียนมองถึงเหตุผลที่เธอเลือก Shiroma Miru ไว้หลัก ๆ 3 ประการดังนี้

ประการแรก เมมเบอร์รุ่นที่ 1 ของ NMB48 - ที่ผ่านมาทำไมผู้เขียนที่ยกเนื้อหาประวัติศาสตร์มาเกริ่นนำ หรือนำเรื่องของประวัติของวงมาเกริ่นก่อนทำการวิเคราะห์ ก็เพราะอยากให้ผู้อ่านเข้าใจในสถานการณ์และเหตุผลที่กำลังเป็นไปตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเดาทางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ประชาคมโลกรู้จัก Fidel Castro เป็นอย่างดีในฐานะผู้นำคิวบาและเป็นบิดาแห่งการปฏิวัติคิวบา แต่โลกไม่รู้จัก Raúl Castro มากพอเหมือนที่โลกรู้จักพี่ชาย แต่ทีนี้ Fidel Castro เลือกน้องชายตนเองสืบทอดอำนาจของตนเอง ก็เพราะความเชื่อใจในการเป็นผู้นำที่จะพาประเทศคิวบาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับที่พี่ชายอยากให้เป็น และต้องการให้เขาช่วยผลักดันคนรุ่นใหม่ให้โดดเด่นและมีประสบการณ์ความเป็นผู้นำมากพอที่จะมาแทนที่ได้ในอนาคต 

สำหรับ NMB48 แล้ว ก็คือรูปแบบเดียวกันเลย คือ ผู้คนทั่วไปรู้จัก Yamamoto Sayaka เป็นอย่างดี แต่คนยังรู้จัก Shiroma Miru ไม่มากเท่ากับ Yamamoto Sayaka (นั่นคือผู้เขียนกำลังบอกถึงความดังในการเป็นไอดอล) แล้วต่อมา Yamamoto Sayaka ก็เลือก Shiroma Miru มารับช่วงต่อในฐานะคนที่จะมาแบกวงคนต่อไป ด้วยความเชื่อมั่นที่จะพา NMB48 ให้กลับมาสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง และต้องการให้เธอจุดประกายคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาผลักดันวงร่วมกับเธอต่อไป
Shiroma Miru เข้ากอด Yamamoto Sayaka
(https://twitter.com/shiromiru36/status/1024913855531515905/)
คล้าย ๆ กับการ paraphase แต่ถูกเขียนในต่างบริบทเท่านั้น เมมเบอร์รุ่นที่ 1 เป็นรุ่นที่สร้างวงขึ้นมาตั้งแต่แรก ซึ่งทั้ง Yamamoto Sayaka และ Shiroma Miru ก็บุกเบิก NMB48 ให้เป็นที่รู้จักร่วมกับเมมเบอร์รุ่นที่ 1 คนอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จ แต่บารมีของ Yamamoto Sayaka กลับโดดเด่นอย่างชัดเจน 

พอบารมี Yamamoto Sayaka ยิ่งใหญ่ที่สุดในวง ก็เลยทำให้เธอถูกมองว่าเป็น "เดอะแบกของวง" ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะเธอเป็นเซนเตอร์ของซิงเกิ้ลใน NMB48 เป็นประจำ และก็ยิ่งตอกย้ำความเป็นเดอะแบกด้วยอันดับในการเลือกตั้งเซมบัตสึครั้งที่ 8 ที่ได้อันดับที่ 4 (จากนั้นเธอก็ไม่ลงเลือกตั้งอีกเลย) 

ในเมมเบอร์รุ่นที่ 1 ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาด้วยกันตั้งแต่การก่อตั้งวง ในเวลานี้ก็เหลือเพียง Shiroma Miru, Kawakami Rena (川上礼奈) กัปตันทีม M, และ Yoshida Akari (吉田朱里) ซึ่งทั้งหมดอยู่ทีม M 
เมมเบอร์รุ่นที่ 1: Kawakami Rena, Yamamoto Sayaka, Shiroma Miru, และ Yoshida Akari
(https://twitter.com/shiromiru36/status/1051115996138721281) 
แน่นอนว่าทั้งสามคนนี้ต่างก็ได้รับโอกาสและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ทั้งสามมีอยู่เหมือนกัน คือแนวทางของ NMB48 ซึ่งคล้าย ๆ กับ Yamamoto Sayaka คือความต้องการในการรักษาชื่อของ NMB48 ให้คงอยู่ในใจแฟนคลับและเป็นที่จดจำต่อสาธารณชนต่อไปให้ได้ ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน

ประการที่สอง ประสบการณ์และบารมี -  ความไว้วางใจเพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต่อการนำพาวงให้อยู่รอดต่อไป เพราะสิ่งที่จะทำให้อยู่รอด คือความสามารถและความเป็นผู้นำ ดังนั้น การที่ Yamamoto Sayaka เลือกเมมเบอร์รุ่นที่ 1 ด้วยกันจึงใช้เรื่องของประสบการณ์เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจนอกเหนือจากความไว้ใจที่น่าจะนำพาวงได้

Shiroma Miru มีประสบการณ์มากขนาดไหนถึงทำให้ถูกมองว่าเป็นผู้ที่จะมารับช่วงต่อของวงในฐานะผู้แบกวงคนต่อไป สิ่งแรกก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ Produce48 ซึ่งเธอเป็นคนเดียวที่สามารถเข้าไปถึงรอบ 20 คนสุดท้าย (ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายก่อนประกาศเมเบอร์ 12 คนเข้าสู่ IZONE) โดยเธอจบอันดับที่ 16 ในขณะที่ Murase Sae (村瀬紗英) เมมเบอร์รุ่นที่ 2 นั้นจบอันดับที่ 22
Shiroma Miru กับ Produce48
ทำไม Produce48 จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการเป็นตัวแปรของการเป็นเดอะแบก เอาง่าย ๆ ก็เพราะว่าชั้นเชิงการแสดงและความสามารถของศิลปินเกาหลีใต้ถือว่าดีกว่า การผ่านเข้าไปในรอบลึก ๆ ความสามารถจึงเป็นสิ่งที่ชี้วัดนอกเหนือจากความนิยมและบารมี และการผ่านถึงรอบ 20 คนสุดท้ายเป็นสิ่งที่เมมเบอร์ชี้ให้เห็นแล้วว่าเธอมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ  นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าความนิยมของเธอมาจากพลังที่เธอได้ต่อสู้เพื่อการเป็นไอดอลอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ความสามารถเด่นไม่ได้การันตีว่าเมมเบอร์จะอยู่รอดในไอดอล การเข็นของสตาฟแม้ว่าจะเป็นส่วนที่ทำให้เมมเบอร์โดดเด่นแต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ความนิยมและบารมีเท่านั้นที่ทำให้เมมเบอร์อยู่รอดในวงการไอดอล และอะไรที่จะบ่งชี้วัดถึงความนิยมกับความสามารถได้ดีที่สุด แน่นอนก็คือผลการเลือกตั้งเซมบัตสึ AKB48 Group 

ในการเลือกตั้งครั้งที่ 10 Shiroma Miru ร่วงจากอันดับที่ 12 มาอยู่อันดับที่ 20 ซึ่งเป็นการหลุดจากเซมบัตสึ ในขณะที่ Yoshida Akari กลับสามารถคงเซมัตสึของตนเองไว้ได้ด้วยอันดับที่ 14 ดีขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับที่ 16 ส่วน Kawakami Rena อยู่อันดับที่ 116 
Shiroma Miru จบอันดับที่ 20 ในการเลือกตั้งครั้งที่ 10
(https://mdpr.jp/music/detail/1773450)
แต่จะพบว่าอันดับที่ 23 มีเมมเบอร์ NMB48 อีกคนหนึ่งติดอันกับมาด้วย นั่นคือ Ota Yuuri (太田夢莉) จากรุ่นที่ 3 ซึ่งมีอายุ 18 ปีกับประสบการ์งานในวงประมาณ 6 ปี (น้อยกว่าเมมเบอร์รุ่นที่ 1ประมาณ 1 ปี 4 เดือน) 

หากมองจากการเลือกตั้ง Yoshida Akari ดูมีความนิยมสูงที่สุด แต่ความนิยมแม้จะบอกถึงความอยู่รอดในวงการไอดอลของตนเอง แต่ไม่ได้บอกว่าคนนั้นจะเป็นผู้นำได้ดีที่สุด อย่างที่ Okada Nana (岡田奈々) สามารถจบอันดับแซง Yokoyama Yui (横山由依) ผู้จัดการทั่วไปของวง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้สำเร็จ

และความนิยม Shiroma Miru ที่ตกลงในการเลือกตั้งครั้งที่ 10 นี้ก็เกิดขึ้นก่อนที่จะโดดเด่นในรายการ Produce48 ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งนี้อาจจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกอบกู้ชื่อและกลับเข้าไปยังเซมบัตสึได้ในอนาคต

ประการที่สาม เซนเตอร์ของซิงเกิ้ล NMB48 - ที่ผ่านมา Yamamoto Sayaka ผูกขาดการเป็นเซนเตอร์ของซิงเกิ้ลมาโดยตลอด ซึ่งมี Watanabe Miyuki (渡辺美優紀), Yamada Nana (山田菜々), Yagura Fuuko (矢倉楓子), และ Suto Ririka (須藤凜々花) ที่เคยได้รับโอกาสในการเป็นเซนเตอร์ซิงเกิ้ล แต่ทั้งหมดนี้ล้วนจบการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น แต่ที่ยังคงอยู่ มีเพียง Shiroma Miru เท่านั้นที่เคยเป็นเซนเตอร์ซิงเกิ้ล Rashikunai (らしくない) และ Warota People (ワロタピーポー)

แล้วทำไมการเป็นเซนเตอร์ซิงเกิ้ลจึงเป็นตัวแปรของการมาเป็นทายาทเดอะแบก ก็เพราะประสบการณ์ในการเป็นเซนเตอที่คอยนำคนอื่น ๆ ในซิงเกิ้ลทั้งการเต้นและการร้อง ซึ่งการเป็นเซนเตอร์นั้น ต้องนำพาคนอื่น ๆ ในการเต้นและร้องให้ไปในจังหวะและรูปแบบที่ถูกต้อง เพราะถ้าเซนเตอร์เบี้ยว ตำแหน่งของเมมเบอร์คนอื่น ๆ ก็เบี้ยวตามไปด้วย เพราะเซนเตอร์คือจุดตรงกลางที่เห็นชัดที่สุดและเป็นจุดโฟกัสของกล้องบันทึกในหลายจังหวะ 
Shiroma Miru กับเซนเตอร์ซิงเกิ้ล Warota People (ワロタピーポー)
(https://aikru.com/archives/3888)
เซนเตอร์ก็เหมือนการเป็นศูนย์รวมของซิงเกิ้ล เนื้อเพลงในหลายครั้งก็สื่อถึงตัวเซนเตอร์ได้ ดังนั้นเซนเตอร์จึงไม่ได้เป็นแค่เมมเบอร์ตรงกลางแถวหน้าสุด แต่หมายถึงจุดที่เป็นทั้งแรงบันดาลใจการเขียนเนื้อเพลงซิงเกิ้ล เป็นเมมเบอร์หลักในเรื่องราวของ MV หรือแม้แต่เป็นตัวสะท้อนชีวิตในขณะนั้นของเมมเบอร์ ดังนั้น การเป็นเซนเตอร์จึงสามารถบ่งบอกได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลักดัน ความนิยมที่สูงส่งในขณะนั้น และการคาดหวังให้เป็นดาวเด่นในอนาคต

หากกลับไปดูเนื้อหาในส่วนของการถ่ายโอนอำนาจในคิวบา จะพบว่า Fidel Castro เลือก Raúl Castro เพราะประสบการณ์ในการเป็นผู้นำที่สูงเทียบเท่าพี่ชาย โดยเป็นทั้งรองเลขาธิการทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาและรองประธานาธิบดีคิวบา ซึ่งก็ชัดเจนมาตั้งแรกเริ่มว่า Raúl Castro สามารถแทนที่ Fidel Castro ได้ทุกเมื่อ 

และถ้าหากมองสมาชิกรุ่นปฏิวัติคิวบาในขบวนการ 26 กรกฎาคมด้วยกัน จะพบว่า José Ramón Machado Ventura เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี ค.ศ. 1960-1967 ก่อนที่จะเป็นรองประธานาธิบดีคิวบาในยุคของ Raúl Castro จนถึงปี ค.ศ. 2013 และเป็นรองเลขาธิการทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ส่วน Ramiro Valdés เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในช่วงปี ค.ศ. 1961-1968 และ 1979-1985 ก็กลายเป็นรองประธานาธิบดีคิวบาในปี ค.ศ. 2009 

จะเห็นได้ว่าตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือประสบการณ์ความเป็นผู้นำ ยิ่งสูงยิ่งเห็นชัด และการเป็นเซนเตอร์ในซิงเกิ้ลนั้น ต้องถูกพิจารณาแล้วว่าผลที่ได้รับกลับมานั้นคุ้มค่าพอต่อการเลือก อย่างไรก็ตาม ความเป็นผู้นำยังมีอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การเป็นกัปตันทีม ซึ่ง Kawakami Rena กำลังเป็นกัปตันทีม M อยู่ ดังนั้นในเรื่องของการเป็นผู้นำจึงไม่ได้มีส่วนที่มากมายเท่าไรนัก นอกเหนือจากการที่ Shiroma Miru เคยเป็นเซนเตอร์ซิงเกิ้ลมาก่อน ทำให้เธอมีโอกาสถูกเลือกสูงที่สุดเท่านั้น 

ประการที่สาม การควบทีมกับ AKB48 - ในอดีตเมมเบอร์วงน้องสาวที่ประสบความสำเร็จมักเคยแสดงบนสเตจ AKB48 ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง ๆ มากมายในฐานะสมาชิกควบ และใครหลายคนที่ได้สัมผัสมันก็เป็นแรงบันดาลใจในการไปแบกวงน้องสาวจนวิ่งแซง AKB48 กันมาแล้วถ้วนหน้า

เมมเบอร์ที่เคยควบกับทีมต่าง ๆ ใน AKB48 มาแล้วซึ่งยังคงอยู่ในวง ณ ตอนนี้ ได้แก่ Yamamoto Sayaka, Shibuya Nagisa (渋谷凪咲), และ Shiroma Miru 

ไม่ใช่เพียงแค่ประสบการณ์ที่ได้รับหลังจากการไปควบวงกับ AKB48 มาแล้ว แต่ยังได้ฐานเสียงที่เกิดขึ้นจากสเตจของ AKB48 และการร่วมงานต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และสิ่งนี้เองที่ทำให้พวกเธอสามารถไต่อันดับในการเลือกตั้ง และสะสมบารมีได้มากกว่าคนอื่นที่ไม่ได้มีโอกาสควบวงเสียอีก
Shiroma Miru กับการปลดรูปหน้าสเตจ AKB48 เพื่อแสดงการสิ้นสุดการควบตำแหน่งในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2018
การเป็นเมมเบอร์ควบวงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกเดอะแบกด้วย เนื่องจาก Yamamoto Sayaka ก็เคยควบวงมาก่อน ดังนั้นจึงตระหนักดีว่าการได้ไปทำงานนอกเหนือสเตจตนเอง มอบอะไรหลายอย่างที่ล้ำค่าให้กับเมมเบอร์รวมทั้ง Shiroma Miru ด้วย ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่เพียง profile ที่ดีขึ้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจที่จะมอบให้กับเมมเบอร์คนอื่น ๆ ในการพัฒนาวงให้ก้าวข้าม AKB48 ได้ในอนาคต

NMB48 ในยุค post-Yamamoto Sayaka 

ผู้เขียนให้เหตุผลถึงการถ่ายโอนอำนาจจาก Yamamoto Sayaka ไปสู่ Shiroma Miru โดยเทียบจากการถ่ายโอนอำนาจของผู้นำในคิวบา ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด 

ทีนี้ ผู้อ่านที่มาถึงตรงนี้แล้ว จะเข้าใจถึงเหตุผลที่ทำไม Yamamoto Sayaka ส่งเดอะแบกต่อให้กับ Shiroma Miru แต่ถ้าใครที่ผ่านบทความก่อนหน้านี้ซึ่งชี้ candidate ที่ไม่ใช่รุ่นที่ 1 นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ (Yamamoto Sayaka จบการศึกษา) คือการส่งต่อจากรุ่นบุกเบิกสู่รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญมากที่สุด เพราะ NMB48 ที่ผ่านมาต่างพึ่งบารมีจาก Yamamoto Sayaka ในฐานะผู้แบกวงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยที่เมมเบอร์แกนหลักของวงที่สำคัญก็จบการศึกษาออกไปก่อนหน้านี้แล้ว อีกทั้งดาวรุ่งที่เชื่อว่าจะมาแทนที่ได้อย่าง Suto Ririka ก็จบการศึกษาออกไปด้วยการประกาศแต่งงาน

วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ของ NMB48 ส่วนหนึ่งที่ทำให้ดูไม่รุนแรงมากก็เพราะ Yamamoto Sayaka คอยยืนและค้ำประกันความอยู่รอดของวง แต่เมื่อแกนกลางของ NMB48 ที่เคยมีมาอย่างยาวนานกำลังจะออกจากวงไป อะไรที่จะมาแทนที่ความยิ่งใหญ่นี้ได้ 

ยุค post-Yamamoto Sayaka ที่ผู้เขียนจะอธิบายต่อไปนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของ NMB48 ทั้งในช่วงที่ Shiroma Miru คอยรับช่วงต่อและหลังจากนั้น

NMB48 Team Shuffle ครั้งใหม่

ผู้เขียนเคยวิเคราะห์ล่วงหน้าไปแล้วว่า หลัง Yamamoto Sayaka จบการศึกษาไปแล้ว ยังไงก็ต้องมี NMB48 Team Shuffle เพราะว่าต้องปรับทีมให้มีความสมดุลใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าทีมที่ได้รับผลมากที่สุดก็คือทีม N ที่ Yamamoto Sayaka เป็นหัวหน้าทีมนั่นเอง

ทีนี้เมมเบอร์รุ่นที่ 1 จะมีสมาชิกเหลือเพียง 3 คน ซึ่งก็พอดีกับการกระจายไปตามทีมต่าง ๆ ทีมละ 1 คนเพื่อเป็นพี่สาวของวงในการให้คำแนะนำแก่ลูกทีมและผลักดันคนรุ่นใหม่ให้โดดเด่น ในช่วงที่ผ่านมาเซมบัตสึของ AKB48 ไม่ค่อยมีเมมเบอร์จากทีม BII เข้าร่วมเท่าไรนัก ยกเว้นในซิงเกิ้ล Jabaja (ジャーバージャ) ที่มี Ota Yuuri ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ Okada Nana (เซนเตอร์ซิงเกิ้ล) เข้าไปร่วมด้วย

เมื่อสังเกตความแตกต่างของแต่ละทีมใน NMB48 จึงทำให้ทราบว่า ทีม N ก็มี Yamamoto Sayaka คอยแบกวงและนำทีมอยู่, ทีม M มีเมมเบอร์รุ่นที่ 1 อาศัยอยู่ในทีมเป็นจำนวนมาก, และทีม BII แทบไม่ได้ถูกเลือกให้ไปร่วมเซมบัตสึกับ AKB48 โดยสตาฟเลย 

เมื่อกล่าวถึงในลักษณะนี้แล้ว ผู้เขียนจะมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการสับเปลี่ยนภายใน NMB48 ต่าง ๆ ดังนี้ 

* ส่วนนี้คือความเห็นของผู้เขียน โปรดอ่านด้วยวิจารณญาณเนื่องจากเป็นการคาดเดาของผู้เขียนเอง *

ความเป็นไปได้อันที่หนึ่ง ดันเมมเบอร์ดราฟท์รุ่นที่ 3 - ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2018 SKE48 เลื่อนขั้นเมมเบอร์ดราฟท์รุ่นที่ 3 เข้าสู่ทีมหลักเพื่อชดเชยเมมเบอร์ที่จบการศึกษาออกไป ซึ่งเป็นวงแรกที่เรียกใช้งานดราฟท์รุ่นที่ 3 ในฐานะเมมเบอร์หลักของทีมอย่างเป็นทางการ  

NMB48 มีเมมเบอร์ดราฟท์รุ่นที่ 3 ที่ยังใช้งานได้อยู่ 15 คน (ถอนตัวแล้ว 1 คน) และมีเมมเบอร์รุ่นที่ 6 ซึ่งประกาศตัวในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ทั้งหมด 14 คนเข้าสู่ Kenkyuusei ที่พร้อมใช้งานในฐานะเมมเบอร์หลักได้เสมอ

จำนวนเมมเบอร์ในสเตจของ NMB48 ถือว่ายังมากอยู่นั่นคือ 14 คน (มากกว่า AKB48 ทีมหลักหลังหักออกจากเมมเบอร์ทีม 8 ที่ทำการควบทีมไปแล้ว) ดังนั้นการเลื่อนขั้นในครั้งนี้จึงไม่ได้เลื่อนยกรุ่น แต่อาจจะเลือกเลื่อนขั้นเมมเบอร์ประมาณ 3-6 คน ให้เต็มจำนวนในแต่ละทีมเท่านั้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะยังดองอยู่ต่อไปอีกสักระยะ

ความเป็นไปได้อันที่สอง กระจายเมมเบอร์รุ่นที่ 1 - เมมเบอร์รุ่นที่ 1 หลังจากนี้จะมีเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งถ้าสามารถจัดให้แต่ละทีมมีเมมเบอร์รุ่นแรกมี 1 คนจะช่วยสร้างสมดุลภายในทีมได้มากขึ้น

สำหรับ Shiroma Miru แล้ว มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะต้องย้ายเข้าทีม N เนื่องจากเธอจะต้องยืนเป็นเดอะแบกคนถัดไป ส่วนกัปตันทีม N นั้น ผู้เขียนไม่ฟันธงว่าจะเป็น Shiroma Miru เนื่องจากตัวเลือกอื่น ๆ ยังมีอยู่อีกมาก ไม่ว่าจะดึง Yamao Rina (山尾梨奈) ขึ้นมาเป็นกัปตันทีมแทน หรือเมมเบอร์คนอื่น ๆ ที่สตาฟคาดหวัง

สมมติว่า ถ้า Shiroma Miru เข้าทีม N จริง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ไม่ Yoshida Akari ก็ Kawakami Rena ที่อาจจะย้ายไปทีม BII ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่คนที่ย้ายไปเพื่อดึงทีม BII ให้กลับมาโดดเด่นก็คงเป็น Yoshida Akari และให้  Kawakami Rena ยังคงเป็นกัปตันทีม M ต่อไป(?) โดยยึดหลักว่า ถ้าต้องการให้ทุกทีมมีความสมดุล

ความเป็นไปได้อันที่สาม กัปตันวง NMB48 - เดิมที NMB48 ไม่มีกัปตันวง แต่ทุกคนทราบว่าคนแบกวง คือ กัปตันทีม N Yamamoto Sayaka ซึ่งกลายเป็นผู้นำโดยพฤตินัยไปแล้ว ทำไมกัปตันวงในตอนนี้ถึงสำคัญ ก็เพราะต้องการชี้ให้เห็นผู้ที่จะคอยกำกับและดูแลวงให้เข้มแข็ง ซึ่ง Shiroma Miru อาจรู้สึกไม่มั่นใจกับการนำวง หากถูกวางให้เป็นเพียงกัปตันทีม N เนื่องด้วยบารมีที่ไม่ได้มากเมื่อเทียบกับ Yamamoto Sayaka

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้ฟันธงว่า Shiroma Miru จะเป็นกัปตันวงแน่นอน (หากมีตำแหน่งนี้จริง) เนื่องจากกรณี SKE48 คนที่เป็นกัปตันวง คือ Saito Makiko (斉藤真木子) นั่นคือ มีโอกาสที่คนอื่น ๆ อาจเป็นกัปตันวง ซึ่งอาจเป็นเมมเบอร์ที่มีความนิยมสูงอย่าง Ota Yuuri หรือ Shibuya Nagisa หรือไม่ก็เมมเบอร์ที่อาจถูกวางให้มารับช่วงต่อหลังจาก Shiroma Miru ที่นอกเหนือสองคนที่กล่าวถึงไปแล้วอย่าง Jo Eriko (城恵理子) หรือ Kato Yuuka (加藤夕夏)

หากผู้อ่านบางคนไม่เชื่อว่าจะมีกัปตัน NMB48 ผู้เขียนก็ยังเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะไม่มีตำแหน่งนี้ เนื่องจากบทบาทของตำแหน่งนี้ อาจถูกมองว่าเป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่า อย่างเช่นใน HKT48 ที่ Sashihara Rino (指原莉乃) ไม่ได้เป็นกัปตันวง (แต่ไปเป็นผู้จัดการเธียเตอร์ร่วมด้วยบารมีที่สูงส่งเกินจับต้องได้) หรือ NGT48 หลัง Kitahara Rie (北原里英) ก็ว่างตำแหน่งกัปตันวงนี้ไปเลย นั่นคือตำแหน่งนี้ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้องมีหรือไม่ และผู้เขียนคิดว่าตัวเลือกนี้มีความเป็นไปได้ไม่มาก นอกเหนือจากต้องการคนที่จะนำความเชื่อมั่นของวงกลับมาเท่านั้น

ซับยูนิตเมมเบอร์รุ่นใหม่

* ส่วนนี้คือความเห็นของผู้เขียน โปรดอ่านด้วยวิจารณญาณเนื่องจากเป็นการคาดเดาของผู้เขียนเอง *

AKB48 เคยใช้ Tentoumu Chu! (てんとうむChu!) ในการผลักดันเมมเบอร์รุ่นใหม่จนพวกเธอในยูนิตนี้ประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้ามาแล้ว ส่วน SKE48 ก็เคยใช้กลวิธีนี้ผ่าน Love Crescendo (ラブクレッシェンド) ซึ่งใช้เพื่อกอบกู้วิกฤตศรัทธาของวงในเวลานั้นจนทำให้เมมเบอร์หน้าใหม่ ๆ ได้ออกสู่สายตาแฟนคลับและเป็นที่โด่งดังในเวลาต่อมา

NMB48 กำลังจะตามรอย SKE48 ในช่วงวิกฤตที่เมมเบอร์หลัก ๆ ที่โดดเด่นจบการศึกษาออกไปแล้วทำให้วงอยู่ในช่วงวิกฤต ซึ่งผู้เขียนไม่รับประกันว่าจะเกิดซับยูนิตนี้ขึ้นมาจริง ๆ หรือไม่ และเกิดขึ้นมาอย่างไร เนื่องจากทางแก้ของ NMB48 อาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ซับยูนิต และการสับเปลี่ยนภายในวงอาจเพียงพอต่อความอยู่รอด

ซับยูนิตแห่งความหวังนี้ เป็นการผลักดันที่ได้ผลเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกเธอจะได้ปรากฏตัวและมีซิงเกิ้ลที่ออกสู่สายตาภายนอกก่อน ทำให้ผู้คนรู้จักเร็วขึ้น การสร้างฐานเสียงที่เร็วขึ้นทำให้การต่อยอดง่ายขึ้น เมื่อต่อยอดง่ายขึ้น อนาคตของการเป็นไอดอลก็เหลือเพียงแค่ความพยายามของพวกเธอเองที่จะไขว่คว้าความสำเร็จเท่านั้น

ทีนี้กลับมาที่เบื้องลึกของวงว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เพราะการจะตั้งซับยูนิตขึ้นมานั้น ต้องพิจารณาว่าใครเหมาะสมกับการผลักดันเมมเบอร์ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าทำไม NMB48 อาจจะมีซับยูนิตเมมเบอร์รุ่นใหม่ 

ในเนื้อหาส่วนของการถ่ายโอนอำนาจของคิวบา Fidel Castro เรียนรู้จากสหภาพโซเวียตถึงสาเหตุในการล่มสลาย ดังนั้นจึงเกิดโครงการที่จะดึงสมาชิกรุ่นใหม่เข้าสู่พรรคมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของคิวบาในอนาคต

ถ้ามองในมุมมองเช่นนั้น NMB48 อาจมีซับยูนิตรุ่นใหม่ก็ได้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า Yamamoto Sayaka จะเข้ามาเป็น producer หรือไม่ก็ Shiroma Miru (หรือไม่ก็คนอื่น ๆ) ที่จะเป็นผู้ดันเมมเบอร์แห่งความหวังนี้ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง SKE48 กับ NMB48 ก็คือเมมเบอร์แถวหน้า (ที่มีความนิยมสูง) โดย SKE48 มีเมมเบอร์แถวหน้าที่ล้วนมีอายุที่มาก (23-25 ปีในขณะตั้งซับยูนิต) ในขณะที่ NMB48 มีเมมเบอร์แนวหน้าที่อยู่ในช่วงฟอร์มร้อน ๆ (21-22 ปีถ้าไม่รวม Ota Yuuri) นั่นจึงทำให้บางคนเชื่อว่าซับยูนิตของเมมเบอร์รุ่นใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นก็ได้

แต่พอมองออกไปอนาคตจะพบว่า เมมเบอร์แนวหน้าดังกล่าวหากมองออกไป 3-4 ปีข้างหน้า จะมีเพียง Ota Yuuri เท่านั้นที่ยังคงทรงพลังในวัย 20 ต้น ๆ และการไม่มีเมมเบอร์รุ่นใหม่ที่จะมารับช่วงต่อหรือแม้แต่ได้รับการผลักดัน ผู้เขียนเชื่อว่าอาจจะได้เห็นวิกฤตรอบใหม่ที่ร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ และการฝากอนาคตหลังจากนี้ไว้ที่ Ota Yuuri เพียงคนเดียวนั้น เป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป

เหตุการณ์หลังจาก Shiroma Miru ขึ้นมาแบกวงและหลังจบการศึกษา

ผู้เขียนเชื่อว่า อย่างน้อยที่สุดแล้ว NMB48 จะประกันความอยู่รอดต่อไปในกระแสของไอดอล AKB48 Group อีกประมาณ 3-4 ปี ในช่วงที่ Shiroma Miru ยังคงเป็นเซนเตอร์ (เดอะแบก) ต่อจากนี้ 

ในขณะที่ Yamamoto Sayaka เริ่มเข้าสู่หลังฉากโดยการเป็น producer สเตจของ Kenkyuusei ที่ชื่อว่า "Yume wa Nigenai (夢は逃げない)" ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาผลักดันเมมเบอร์จากเบื้องหลังในขณะที่เธอใกล้จะจบการศึกษาออกไปแล้ว
(https://www.oricon.co.jp/news/2120336/full/)
 Yume wa Nigenai (夢は逃げない) เป็นสเตจของ Kenkyuusei ที่ Yamamoto Sayaka เป็น producer
(https://ameblo.jp/chario-faker/entry-12407942716.html)
ส่วน Shiroma Miru กับงานแนวหน้าที่ไม่มี Yamamoto Sayaka นั้นอาจจะเป็นงานยากที่จะทำให้วงอยู่ในจุดเดียวกับที่ Yamamoto Sayaka เคยทำได้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าเธอจะยังรักษาความนิยมและความยิ่งใหญ่ที่วงที่มีอยู่ไว้ได้ เพราะเธอไม่ได้แบกวงเพียงลำพังอย่างแน่นอน

เมมเบอร์รุ่นที่ 1 ที่เหลืออยู่จะกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดต่อการต่อยอดอนาคตของวง และผลักดันเมมเบอร์รุ่นใหม่ให้โดดเด่น ทีนี้ผู้อ่านจะเริ่มรู้สึกว่าทำไมถึงใช้ Shiroma Miru ว่าเป็นเดอะแบกของ NMB48 ก็เพราะว่ามีแนวโน้มในการเป็นเซนเตอร์สูงที่สุด มีความนิยมและบารมีสูงมาก และถูกวางตัวจาก Yamamoto Sayaka 

ในอนาคตหลังจากนี้ ผู้เขียนอยากให้จับตา Ota Yuuri ว่าจะสามารถเข้าสู่เซมบัตสึครั้งแรกได้เมื่อไร อย่างเร็วที่สุดก็น่าจะเป็นการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2019 หากไม่เกิดเหตุการณ์ใดพลิกสถานการณ์ NMB48 ไปมากกว่านี้

มีความเป็นไปได้ว่า Yamamoto Sayaka อาจจะได้แต่งเพลงเพื่อให้ NMB48 ใช้ขึ้นแสดง (หมายถึงแต่งเนื้อเพลงแทน Akimoto Yasushi (秋元 康)) และเธออาจจะทำงานเป็น producer ในเบื้องหลังให้กับวงต่อไป หากไม่ได้ไปทำงานเป็นศิลปินอิสระ

เมมเบอร์คนอื่น ๆ หลังจากนี้ ต่างตระหนักดีแล้วว่า การที่จะรักษาวงต่อไปได้ ต้องพยายามด้วยตนเองมากขึ้น ความตั้งใจของเหล่าไอดอลในเวลานี้จะเริ่มเห็นชัดขึ้นเพื่อให้ถูกผลักดัน เนื่องจากเมมเบอร์รุ่นใหม่ที่ขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าของการเลือกตั้งยังมีไม่มาก และอาจจะได้เห็นอะไรหลายอย่างใน NMB48 เพื่อฟื้นฟูความนิยมและความยิ่งใหญ่ของวง

หลังจากที่ Shiroma Miru จบการศึกษา อาจจะเห็นผู้สืบทอดเดอะแบกอีกครั้งหนึ่ง และถ้าไม่เกิดการพลิกสถานการณ์ Ota Yuuri อาจเข้ามารับช่วงต่อหลังจากนี้ เพราะความนิยมสูงที่สุดในบรรดาเมมเบอร์ที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี ส่วนนอกเหนือจากนั้น ต้องขึ้นกับการผลักดันเมมเบอร์รุ่นใหม่ว่าจะเกิดขึ้นในทิศทางใด

บทส่งท้าย

ผู้เขียนมองว่าหลังจากที่ Yamamoto Sayaka จบการศึกษาออกไปแล้ว Shiroma Miru จะรับช่วงต่อในหน้าที่ของการเป็นเดอะแบกนี้แทน โดยมองการถายโอนอำนาจในรูปแบบเดียวกับคิวบา ซึ่งเธอมีทั้งความสามารถและบารมีในการจะพาทุกคนให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเธอ แต่ทุกคนในวงก็ล้วนเป็นส่วนในการช่วงให้วงก้าวหน้าต่อไปไม่ว่าจะอายุเท่าไร และมีความนิยมมากน้อยเพียงใด เพราะทุกคนคือ NMB48

อนาคตหลังจากนี้ ยังไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงภายในวงมีขึ้นอย่างแน่นอน แต่อนาคตของเมมเบอร์รุ่นใหม่ได้รับการผลักดันมากน้อยเพียงใด ก็ได้แต่คาดหวังว่าจะมีความหวังใหม่ให้ NMB48 ได้ยืนยงและคงอยู่ต่อไป


Comments

Popular posts from this blog

บทวิเคราะห์: เหตุผลที่ไม่มีทางที่จะได้เห็น Produce46..

Shiawase no Hogoshoku (しあわせの保護色) - กับตัวตนต่าง ๆ ของ Shiraishi Mai

Majimuri Gakuen (マジムリ学園) กับเค้าโครงประวัติศาสตร์จริง